เมนู

เอตทโวจ ความว่า เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ เมื่อทูลถามจึง
ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า พระศาสดาเมื่อตรัสว่า ธาตุ ก็ตรัสนิพพานแก่เราแล้ว
ส่วนทางแห่งนิพพานนั้นพระองค์ยังไม่ตรัส เราจักทูลให้พระองค์ตรัสทางแห่ง
นิพพานนั้น จึงทูลถามดังนี้ .
จบอรรถกถาทุติยภิกขุสูตรที่ 7

8. วิภังคสูตร



อริยมรรค 8


[33] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงอริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เป็นไฉน
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
[34] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ใน
ทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
[35] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริใน
การออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.
[36] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไหน เจตนาเครื่องงา.
เว้น จากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

[37] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน เจตนาเครื่อง
งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า สัมมา-
กัมมันตะ.
[38] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้
เรียกว่าสัมมาอาชีวะ.
[39] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามก
ที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ
บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.
[40] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
เนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
เนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย นี้เรียกว่า สัมมาสติ.
[41] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ
และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนาม
กาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้
ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ
ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
จบวิภังคสูตรที่ 8

อรรถกถาวิภังคสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวิภังคสูตรที่ 8.
บทว่า กตมา จ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงจำแนกมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 โดยปริยายนั้นแล้ว ทรง
เริ่มเทศนานี้ เหมือนทรงประสงค์จะจำแนกโดยปริยายอื่นอีก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺเข ญาณํ ความว่า ญาณอื่นเกิดขึ้น
ด้วยอาการ 4 ด้วยสามารถการฟัง 1 การพิจารณารอบคอบ 1 การแทงตลอด 1
การพิจารณา 1. แม้ในสมุทัยก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในสองบทที่เหลือ
(นิโรธและมรรค) ญาณ 3 อย่างเท่านั้น ย่อมควรเพราะการพิจารณาไม่มี
กัมมัฏฐานในสัจจะ 4 นี้ พระองค์ทรงแสดงแล้วด้วยบทว่า ทุกฺเข ญาณํ
เป็นต้นด้วยอาการอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้น สัจจะ 2 ข้างต้น เป็นวัฏฏะ 2 ข้างปลายเป็น
วิวัฏฏะ ในวัฏฏะและวิวัฏฏะเหล่านั้น ความยึดมั่นในกัมมัฏฐานของภิกษุมีใน